Tag: สุขภาพ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลง ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากอาหารได้ง่ายขึ้น อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการรักษามีดังนี้

ปลาและหอยดิบหรือยังไม่สุก: รวมถึงซูชิ ซาซิมิ และหอยนางรม

ไข่ดิบหรือไข่สุก: รวมถึงไข่ไหล ไข่ลวก และอาหารที่มีไข่ดิบ เช่น มายองเนสโฮมเมดหรือน้ำสลัดซีซาร์

ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์: นมและผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น ซอฟต์ชีส อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้

เนื้อสัตว์แปรรูปเล็กน้อยหรือปรุงสำเร็จรูป: เนื้อเย็น ฮอทดอก และเนื้อสัตว์แปรรูปอื่นๆ อาจมีแบคทีเรียอยู่ ถ้าจะกินก็ควรอุ่นจนร้อน

น้ำตาลส่วนเกิน: แม้ว่าน้ำตาลจะไม่รบกวนการรักษาโดยตรง แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการอักเสบและเหนื่อยล้าได้

สิ่งสำคัญคือต้องพูดคุยกับแพทย์หรือนักโภชนาการเกี่ยวกับแผนอาหารเฉพาะในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลแก่คุณโดยพิจารณาจากประเภทมะเร็ง แผนการรักษา และความต้องการของแต่ละบุคคล

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดี แม้ว่าจะไม่มีรายการอาหารที่เจาะจงที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนควรหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง แต่ก็มีอาหารบางประเภทและแนวทางปฏิบัติในการบริโภคอาหารที่อาจส่งผลเสียต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและสุขภาพโดยรวม อาหารที่ควรเลี่ยงมีดังต่อไปนี้

อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล: อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงน้ำอัดลมที่มีน้ำตาล น้ำผลไม้ ลูกอม เค้ก คุกกี้ และขนมหวานอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจำกัดรายการเหล่านี้หรือเลือกทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพโดยมีปริมาณน้ำตาลต่ำ

คาร์โบไฮเดรตขัดสี: อาหารที่ทำจากธัญพืชขัดสี เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว และพาสต้าธรรมดา สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกใช้ธัญพืชไม่ขัดสีแทน เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง ควินัว และพาสต้าโฮลเกรน ซึ่งมีเส้นใยและสารอาหารมากกว่า และส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า

ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์: อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและทำให้ความต้านทานต่ออินซูลินแย่ลง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม เนย และอาหารแปรรูปที่มีไขมันสูง ไขมันทรานส์มักพบในอาหารทอด ขนมอบ และขนมบรรจุกล่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในถั่ว เมล็ดพืช อะโวคาโด และน้ำมันมะกอก

อาหารแปรรูปสูง: อาหารแปรรูปมักประกอบด้วยสารปรุงแต่ง สารกันบูด ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และมีโซเดียมและน้ำตาลในปริมาณสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและสุขภาพโดยรวม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจัดลำดับความสำคัญของอาหารทั้งหมดที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุดทุกครั้งที่เป็นไปได้ และอ่านฉลากอาหารเพื่อตัดสินใจเลือกอย่างมีข้อมูล

เครื่องดื่มรสหวาน: เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม ชารสหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มกาแฟปรุงแต่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกน้ำ ชาไม่หวาน หรือน้ำอัดลมที่ไม่เติมน้ำตาลเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

อาหารทอด: อาหารทอดมักมีไขมันและแคลอรี่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูง ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและทำให้ความต้านทานต่ออินซูลินแย่ลง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจำกัดการบริโภคอาหารทอด และเลือกวิธีปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การอบ ย่าง นึ่ง หรือผัดโดยใช้น้ำมันน้อยที่สุด

อาหารโซเดียมสูง: ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคหัวใจ และการบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจทำให้ความเสี่ยงนี้รุนแรงขึ้น อาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์แปรรูป ซุปกระป๋อง ของขบเคี้ยวรสเค็ม และอาหารจานด่วน การเลือกอาหารสดทั้งมื้อและปรุงรสด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศแทนเกลือสามารถช่วยลดปริมาณโซเดียมได้

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมดูแลสุขภาพและนักโภชนาการเพื่อพัฒนาแผนการรับประทานอาหารส่วนบุคคลที่สนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การจัดการน้ำหนัก และสุขภาพโดยรวม การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการโรคเบาหวาน

ทริกเด็ด! เลิกบุหรี่เพื่อคนรอบข้างและตัวเองให้สำเร็จ

หากสูบบุหรี่เป็นนิจมักจะมีสัญญาณสุขภาพอันตรายร้ายแรงไม่ว่าจะในผู้หญิงหรือผู้ชาย ซึ่งแม้จะรู้ถึงโทษว่ามีมากมายแค่ไหนก็ไม่อาจทำให้เลิกได้ เพราะบางคนมองว่าเป็นการเข้าสังคมและก็ยังสามารถใช้ชีวิตแบบปกติสุขดี แต่ในบางคนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่มีครอบครัวเริ่มให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง รวมไปถึงใส่ใจสุขภาพมากขึ้นมักจะยกให้เป็นเป้าหมายในการเลิกบุหรี่ วันนี้หากจิตใจของคุณพร้อม เราจะแนะนำทริกการเลิกบุหรี่หากทำได้รับรองว่าเลิกได้แน่นอน

1.ลดปริมาณการสูบลง
สิ่งแรกที่คนติดบุหรี่เลือกทำคือลดปริมาณการสูบลงจากที่เคยสูบหลายมวนต่อวันก็จะยืดระยะเวลา เพื่อไม่ให้ตัวเองสูบติดต่อกันเหมือนอย่างที่เคย แต่ในบางคนทำได้ไม่นานก็กลับมาสูบอีกครั้ง ฉะนั้นนอกจากการเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ควรหาอะไรมาเคี้ยวให้ปากไม่ว่างเพื่อสร้างนิสัยใหม่ เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอมและดมยาดม

2.ไม่ไปสถานที่เดิมที่เคยสูบ
ความเคยชินถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้การเลิกบุหรี่สำเร็จผลได้ยากมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อได้ไปสถานที่เดิม ๆ จะทำให้นึกถึงพฤติกรรมที่เคยสูบบุหรี่ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อาจเต็มไปด้วยผู้คนที่เคยอยู่ในวงสูบบุหรี่ด้วยกัน ทางที่ดีแนะนำเลยว่าให้หาสถานที่ใหม่ ๆ เพื่อเดินออกกำลังกาย

3.ตัวช่วยของการเลิกบุหรี่คือการดื่มน้ำ
สำหรับใครที่กำลังจะเลิกบุหรี่จะต้องเพิ่มปริมาณในการดื่มน้ำมากขึ้นคือ ดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 10 แก้วหรือปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน พิษจึงจะสามารถขับออกมาจากร่างกายได้

4.อาหารตัวช่วยในการเลิกบุหรี่
อาหารเป็นสิ่งที่กระตุ้นทำให้อยากสูบบุรี่ โดยเฉพาะที่มีรสจัด อาทิ เผ็ด เค็ม มัน หวาน ในช่วงที่กำลังเลิกบุหรี่ควรเลี่ยงและเลือกรับประทานผักผลไม้สดที่มีรสเปรี้ยวเท่านั้นหรือจะเลือกกินมะนาว โดยการหั่นบาง ๆ พกติดตัวเอาไว้อมเวลาที่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ อมจนกว่าจะเกิดรสขมที่คอแล้วจะทำให้ความอยากในการสูบน้อยลงไปเรื่อย ๆ

5.การออกกำลังกายควบคู่การเลิกสูบบุหรี่
การออกกำลังกายก็ไม่ได้มีความพิเศษอะไรมากนัก ใช้เวลาแค่ 30 นาที เท่านั้น ไม่เพียงช่วยให้ปอดแข็งแรงเท่านั้น แต่หากมีเหงื่ออออกจะทำให้สารพิษในร่างกายขับออกไปด้วย

นอกจากนั้นแล้วจะต้องนึกถึงเป้าหมายและเตือนตัวเองเสมอในช่วงที่คุณกำลังจะเลิกบุหรี่อาจจะมีบางช่วงที่อยากจะกลับไปดูดอีกครั้ง แต่หากรู้ตัวเองว่ากำลังจะกลับไปพึ่งมันอีกครั้งให้นึกถึงเป้าหมายและคนรอบข้าง

เคล็ดลับสุขภาพดี กินอาหารอย่างไรให้สมดุล

อยากมีสุขภาพดีกุญแจสำคัญอยู่ที่การรับประทานอาหารหลากหลายประเภทและกินปริมาณเหมาะสมทำให้ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล ครบถ้วนทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่ว อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง รวมถึงผักและผลไม้ที่อุดมวิตามิน แร่ธาตุ และกากใยอาหารช่วยในการขับถ่าย เป็นเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ใช้ได้ผลช่วยดูแลสุขภาพดีได้ง่ายขึ้น

กินอาหารแบบสมดุล ไม่งดคาร์โบไฮเดรต
แป้งหรือคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารหลักในสารอาหาร 5 หมู่ แป้งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญซึ่งควรมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารมื้อหลักแต่ละมื้อ แนะนำให้เลือกแป้งที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสีซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินอี ไม่ว่าจะเป็นข้าว ขนมปัง พาสต้า หรือซีเรียล หลายคนอาจกังวลว่ากินแป้งแล้วจะอ้วน แนะนำให้เลือกซีเรียลแบบโฮลเกรนที่มีไฟเบอร์สูงเป็นอาหารเช้า แซนด์วิชสำหรับมื้อกลางวัน ส่วนอาหารเย็นเป็นก๋วยเตี๋ยว พาสต้าหรือข้าวกล้องก็ได้

กินปลามากขึ้น
เหตุผลที่ควรกินปลาและน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมเพราะเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม ปลาบางชนิดมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยให้หัวใจของเราแข็งแรง ทั้งเช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาเทราท์ ปลาซาร์ดีน ปลาไหล ส่วนปลาที่มีไขมันน้อยคือปลาทูน่า นอกจากนี้เนื้อปลายังอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ปลาสดเป็นตัวเลือกดีที่สุด ส่วนปลากระป๋องและปลาที่ผ่านการถนอมอาหารมักจะมีเกลือปริมาณมาก พยายามเลือกกินปลาหลากหลายประเภทและระมัดระวังปลาที่เสี่ยงมีสารปรอทปนเปื้อน

กินผักและผลไม้มากขึ้น
คนส่วนใหญ่กินผักผลไม้ไม่เพียงพอ พยายามกินผักและผลไม้หลากหลายชนิดในแต่ละวัน ถ้าจะให้ง่ายมากขึ้น ลองเพิ่มน้ำผลไม้ 1 แก้ว และกล้วยหั่นเป็นแว่นสำหรับมื้อเช้า เพิ่มสลัดในมื้อกลางวัน เพิ่มแอปเปิลหรือสาลี่เป็นอาหารว่างยามบ่าย มื้อเย็นเพิ่มผัดผัดหรือแกงจืดอีกสักอย่าง ถ้าไม่สะดวกรับประทานผลไม้สด ใช้ผลไม้กระป๋อง ผลไม้อบแห้งหรือน้ำผลไม้คั้นก็ได้ แต่ไม่ใช่มันฝรั่งทอดเพราะนับเป็นอาหารประเภทแป้ง ไม่ใช่ผักผลไม้

ศึกษาเรื่องไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว
ไขมันเป็นสารอาหารจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ถ้าอยากให้มีสุขภาพดีควรเลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวและหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว หลายคนไม่แน่ใจว่าไขมันทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลย

  • ไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันโคเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ พบในอาหารประเภทไขมันสัตว์ ไขมันจากกะทิ เนย และไข่แดง จะสะสมในร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ จำเป็นต้องบริโภคแต่จำกัดปริมาณไม่มากเกินไป
  • ไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด พบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน ปลาทะเล ถั่ว และเมล็ดธัญพืช

แนะนำให้ลดอาหารประเภท ไส้กรอก เนื้อสัตว์ติดมัน เนยแข็ง น้ำมันหมู เค้กและบิสกิต กะทิ และน้ำมันปาล์ม ขณะเดียวกันควรลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และดื่มน้ำอัดลมน้อยลงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

โรคที่ต้องระวังในช่วงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

ช่วงตั้งครรภ์เป็นภาวะพิเศษของร่างกายที่คุณแม่จะมีความอ่อนแอเสี่ยงต่อโรคหลายชนิด ทั้งมีความผันผวนของระบบฮอร์โมน ช่วงที่ตั้งครรภ์ 9 เดือนจึงเป็นช่วงเวลาพิเศษที่ผู้หญิงต้องดูแลสุขภาพตัวเอง ให้ห่างไกลจากหลายโรค ทั้งที่มาจากการติดเชื้อและโรคเรื้อรังบางอย่าง อันอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ดังนี้

1.โรคเบาหวาน
คุณแม่หลายคนมีภาวะเบาหวานเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งครรภ์ ซึ่งต้องระมัดระวังและหมั่นเจาะเลือดตรวจเป็นระยะตามแพทย์นัด เพราะการมีน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติต่อเนื่องจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในท้องและหลังคลอดได้

2.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เมื่อมดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้นจากเด็กที่อายุครรภ์มากขึ้น จะทำให้เกิดแรงกดต่อกระเพาะปัสสาวะ และหากมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะอยู่เสมอด้วย ก็จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องคอยดื่มน้ำเป็นระยะและห้ามกลั้นปัสสาวะ เพื่อลดความจำเป็นในการกินยาฆ่าเชื้อ อันควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์

3.โรคโลหิตจาง
ในระหว่างการตั้งครรภ์ผู้หญิง ลูกในท้องจะมีการใช้ทรัพยากรภายในร่างกายของแม่ เช่น เลือด สารน้ำ โปรตีน ฯลฯ หากบำรุงร่างกายไม่เพียงพอ การรับประทานโปรตีน ผัก ผลไม้ น้อยเกินไป จะทำให้มีอาการของภาวะเลือดจางได้ อาทิ เวียนหัว หน้ามืด เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ซึ่งต้องชดเชยด้วยการเสริมธาตุเหล็กและการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เลือดหมู ไข่แดง ฯลฯ

4.ภาวะแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้องมักเป็นเฉพาะในช่วงระยะ 2-3 เดือนแรก หลังจากนั้นจะทุเลาลง แต่มีหลายคนที่มีอาการแพ้ท้องจนคลอด จึงรับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ สารอาหารที่ได้รับจึงไม่เพียงพอต่อพัฒนาการของลูก เมื่อเด็กมีน้ำหนักน้อยจะสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงเสียชีวิตได้มากขึ้น

5.ความดันโลหิตสูง
เนื่องจากระบบการไหลเวียนของเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมต้องสูบฉีดเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงที่แม่คนเดียว กลายเป็นต้องเลี้ยงทั้งสองชีวิต คือ แม่และเด็กในท้อง ดังนั้นภาวะความดันโลหิตสูงและความผิดปกติของหัวใจจึงพบได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรพบแพทย์เป็นประจำตามนัดเพื่อตรวจพบความผิดปกติอย่างรวดเร็วและรับการรักษาได้ทันท่วงที

6.โรคซึมเศร้า
คุณแม่หลายคนมีภาวะซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ภายในครอบครัวช่วยเหลือกันและทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่อนคลายภาวะอารมณ์ที่ตึงเครียด โดยเฉพาะคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือคุณแม่ที่ต้องทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น

ก่อนการตั้งครรภ์ เราควรเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและสังเกตอาการของโรคต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ควรหมั่นตรวจร่างกายเพื่อพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้จัดการกับโรคที่กล่าวมาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว